ซีรีย์เกาหลี

สิ่งที่ซีรี่ย์เกาหลี แตกต่างจากละครไทย และเป็นสิ่งที่ละครไทยมองข้าม

นั้นก็คือ ซีรี่ย์เกาหลี ไม่ได้แค่สะท้อนสังคม เพื่อความสนุก และความบันเทิงอย่างเดียว แต่ซีรี่ย์เกาหลีนั้น นำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงทางสังคม

ไม่ว่าเรื่องการไม่ให้เกียรติ ความเท่าเทียมทา่งเพศ หรือเรื่องฉากรุนแรงในละครไทยนั้น เราอาจจะพบเห็นกันได้บ่อยๆ จนเป็นเรื่องชินหู ชินตา ที่ผู้กำกับหรือผู้จัดละคร ยังคงเชื่อมั่นในแนวคิด ละครสะท้อนสังคม ซึ่งคำๆ นี้ ใช้กันมาอย่างยาวนาน แสนนาน ฟังดูเป็นคำพูดสวยหรู เพื่อที่จะสื่อสารออกทางสื่อว่า สังคมประเทศของเรานั้นเป็นอย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นการบูลี่ ล้อเลียนเพศสภาพ เป็นเป็นเรื่องตลกโปกฮา และการกระทำความรุนแรงทางเพศ ต่อเพศตรงหรือเพศตรงข้าม หรือการตั้งใจ เขียนบทให้ตัวละครบางตัวดูโง่ เพื่อให้คนดูด่า หรือเห็นใจ ตามบทละครที่เขียนเส้นเรื่องไว้ หรือแม้แต่บทที่นางเอก โดนพระเอกข่มขืนกลางเรื่อง แล้วกลับมารักัน แต่งงานกัน จนจบบริบูรณ์

เนื้อเรื่องละครไทยเหล่านี้ ก็วนซ้ำๆ ซากๆ อยู่กับเรื่องแนวนี้มาตลอดหลายปี ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ยุครุ่งเรือง ไปจนถึงปัจจุบัน แบบนี้มาอย่างยาวนาน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ในปัจจุบันโลกและหลายๆ ฝ่ายต่างออกมาเรียกร้องสิทธิ์ ต่างๆ เพศสภาพ ร่างกายและจิตใจ แต่เราก็ยังคงได้เห็น ฉากข่มขืนกัน ในละครไทยอยู่เหมือนเดิม

ซีรีย์เกาหลีบางครั้งก็ไม่อาจจะกล่าวโทษไป ที่ฝ่ายใดฝ่ายเดียวได้

เพราะมันก็เป็นองคาพยพ ต่ออุปสงค์และอุปทาน ทั้งผู้จัดละคร สถานีโทรทัศน์ รวมทั้งรสนิยมคนดู ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นฐานคนดูที่นิยมการเสพคอนเทนต์ลักษณะแบบนี้ ดังนั้นในเมื่อมันมีความต้องการในตลาด จึงไม่แปลกใจที่ผู้ผลิตสินค้า ก็ต้องผลิตออกมาเพื่อเอาใจตลาด ละครโฆษณาเรตติ้งและความนิยม เป็นของคู่กันในอุตสาหกรรมสื่อ

หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปอุตสาหกรรมนี้ ก็มิอาจขับเคลื่อนได้ แต่มันไม่ควรจะต้องเป็นแบบนี้ตลอดไป เพราะในเมื่อโลกพัฒนาไม่หยุด สื่อบันเทิงของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีการพัฒนาก้าวหน้านำประเทศไทยไปมาก ทั้งบทเนื้อหาพล็อตเรื่องและรสนิยมผู้ชม ดังนั้นการที่ละครไทยจะยังทำแบบที่เคยทำมา

โดยอ้างว่า “สะท้อนสังคม” ที่นำพาไปสู่การกระทำชำเราสังคม ตอกย้ำสังคม หรือชี้โพรงการลอกเลียนแบบให้สังคม ยังควรจะที่มีอยู่อีกหรือไม่? ประเทศเกาหลีใต้ คือประเทศที่มีโมเดลการพัฒนาสื่อบันเทิงอย่างเด่นชัดที่สุดซีรีย์ภาพยนตร์ และอุตสาหกรรมเพลง ต่างยกระดับไปสู่ “World Class” อย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยก็เสพติด ความบันเทิงเกาหลีใต้เป็นจำนวนไม่น้อย

แต่กว่าที่เกาหลีใต้จะมาถึงจุดนี้ได้ ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหา พล็อตเรื่อง รวมทั้งการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ชมให้ยอมรับในซีรีย์น้ำดี ที่ผสมความน้ำเน่าดราม่า แสนกลมกล่อมได้อย่างลงตัว เพื่อไม่ให้ซีรีย์กลายเป็นสารคดีที่ดูแล้วน่าเบื่อหน่ายไร้อารมณ์ กลยุทธ์ “ละครนำสังคม” เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ เมื่อราวๆ ปี 2010 เป็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศของรัฐบาลเกาหลีใต้

ในลำดับต่อจากการที่ประเทศสามารถผลักดัน อุตสาหกรรมบันเทิงไปสู่ระดับเอเชียในช่วงต้นยุคปี 2000 หากใครเป็นคอซีรีย์เกาหลี จะมองเห็นการพัฒนาของผลงานแต่ละเรื่องที่ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้นมาเรื่อยๆ ซีรีย์เกาหลีในยุคแรก ที่นำเข้ามาฉายในประเทศไทย ผ่านทางช่อง ITV หรือ ททบ.5 จะเห็นได้ว่าซีรีย์ในยุคนั้น

จะเป็นซีรีย์แนวดราม่าชีวิตรันทดน่าสงสาร เช่น รักนี้ชั่วนิรันดร์ (Autumn In My Heart) ที่มีคำเรียกติดหูอย่าง “พี่ชาย ฉันหนาว” จากนางเอกที่ป่วยเป็นโรคลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว และเสียชีวิตลงอย่างหน้าเศร้าเคียงข้างพระเอก ที่ต้องเสียอกเสียใจกับความรัก ที่ไม่ได้ลงเอยด้วยความสุข นับเป็นซีรีย์ที่สร้างกระแสความนิยม ให้กับวงการบันเทิงเกาหลีอย่างท้วมท้น

แต่มันก็เป็นภาพจำ ว่านางเอกซีรีย์เกาหลีต้องป่วยตายตอนจบ ซึ่งก็มีซีรีย์หลายเรื่อง ดำเนินพล็อตแบบนี้ต่อมาอีกมากมาย กระทั่งในยุคหลังๆ เริ่มมีการปรับภาพลักษณ์ของซีรีย์เกาหลีใหม่ เพื่อให้เรื่องราวมีความสนุกสนาน สดใส น่ารัก มีความรักที่หวานชื่นดุจเทพนิยาย ระหว่างคู่พระนาง หรือพระรองที่ทั้งหล่อและแสนดี

เพื่อเป็นการลบภาพสังคมเกาหลี ที่แสนโหดร้าย จากการที่ผู้ชายเป็นใหญ่ในบ้านแล้ว ไม่มีความโรแมนติกกับคนรัก แฟน หรือภรรยา ผู้ชายเกาหลีเมื่อแต่งงานแล้ว จะเป็นเหมือนผู้บังคับบัญชาในบ้าน ที่ต้องคอยหาเลี้ยงครอบครัวที่เต็มไปด้วยความกดดันจากทั้งที่ทำงาน และสังคมภายนอก ส่วนผู้หญิงกลายเป็นแม่บ้าน ที่ต้องคอยปรนนิบัติสามี ดูแลงานบ้าน และดูแลลูก

ดังนั้นการกระทบกระทั่งภายในครอบครัว การทำร้ายร่างกายภรรยา

จึงเกิดขึ้นกับครอบครัวของชาวเกาหลีใต้ และเป็นที่รู้กันในสังคมว่า ผู้ชายเกาหลีในชีวิตจริงไม่ได้แสนดีแบบในซีรีย์ที่อย่างหลายๆ คนดู แต่สิ่งที่ภาครัฐของเกาหลีใต้ให้ความสำคัญคือ จะต้องใช้สื่อละคร ซีรีย์ และภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อสังคม เพื่อปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ชายในประเทศให้มีความอ่อนโยน ให้เกียรติ และอบอุ่นต่อผู้หญิง

เพื่อล้างพฤติกรรมว่าผู้ชายเกาหลีป่าเถื่อน ชอบใช้ความรุนแรง ดังนั้นการผลิตซีรีย์ในยุคถัดมาก็เลยมีแนวรักหวานซึ้ง โรแมนติก เต็มไปหมดทั้งเรื่อง เพลงรักในสายลมหนาว (Winter Love Song), วุ่นนักรักเต็มบ้าน (Full House), รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ (Coffee Prince), เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา (Princess Hours), My Girl รักหมดใจยัยกะล่อน และเรื่องอื่นๆ มากมาย

ซึ่งทั้งหมดต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าที่จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงสังคมได้ในระดับเล็กๆ ต่อมาในยุคช่วงไม่เกิน 10 ปี ก่อนหน้านี้แนวการพัฒนาซีรีย์เกาหลี เปลี่ยนไปเป็นแนว การสร้างความเท่าเทียมทางเพศ โดยเฉพาะการต่อสู้ของสตรี ทั้งในเรื่องของศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ความเก่งกาจในการทำงาน การเป็นผู้นำครอบครัว หรือแม้แต่การสร้างตัวเอง ให้เป็นนักธุรกิจใหญ่โตที่ประสบความสำเร็จ

สิ่งเหล่านี้ถ่ายทอดผ่านผลงาน บันเทิงเกาหลีได้หลากรูปแบบหลายสไตล์ เช่น จางอ๊กจอง (Jang Ok-Jung) และ ทงอี (Dong Yi) ซีรีย์แนวย้อนยุคของหญิงสาว ที่ต้องต่อสู้เพื่อช่วงชิงความเป็นหนึ่งในราชสำนักโชซอน ต้องรบรากับผู้ที่คิดไม่ดี กับนางทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ และลบปมด้อยที่ตนเองและครอบครัวมี ต่อให้จะต้องเป็นตัวร้ายในสายตาใครๆ ก็ตาม

 

ขอบคุณ แหล่งที่มา : reporter-journey.com

สามารถอัพเดต ข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ : swelinx.com